Login

Register

Login

Register

Login

Register

ปัจจัยการเลือกซื้อ Software บริหารจัดการคลังสินค้า WMS (Warehouse Management System)

ปัจจัยการเลือกซื้อ Software บริหารจัดการคลังสินค้า WMS (Warehouse Management System)

               

WMS (Warehouse Management System)  หมายถึงระบบการบริหารจัดการสินค้าในคลังสินค้าเพื่อทำให้คลังสินค้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวดเร็ว แม่นยำ

ส่วนประกอบของการใช้ระบบ WMS

  • ขบวนการทำงานของคลังสินค้า
  • สถานที่จัดเก็บสินค้า (Location)
  • ผู้ใช้งานในคลัง
  • เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ร่วมกับ WMSเราจะต้องนำส่วนประกอบต่างๆ มาเพื่อประกอบในการตัดสินใจ เพื่อเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของระบบ WMS และขบวนการทำงานของคลังสินค้ามากที่สุด
  •            
  • ขบวนการ การทำงานของคลังสินค้า จะต้อง พิจารณา ในการทำงาน ดังนี้

    การควบคุมสินค้า (Item Control)

    การรับสินค้า (Inbound Order)

    การจ่ายสินค้า (Outbound Order)

    การหยิบสินค้า (Pick )

    การนับสินค้า(Count)

    การจัดเก็บสินค้า(Put a Way)

    การทำงานของพนักงานในคลังสินค้า

     

    การควบคุมสินค้า (Item Control)

    การควบคุมสินค้า หมายถึง  วิธีที่ใช้ในการ บริหารจัดการสินค้า  โดยใช้ลักษณะคุณสมบัติของสินค้าเอง  แบ่งเป็นตัวอย่างดังนี้

    • สินค้าที่ควบคุมเรื่องการ รับเข้าก่อนจ่ายก่อน จะเป็นการควบคุมที่ง่าย และ นิยมใช้ FIFO อ่านว่า ไฟโฟ( First In First Out)
    • สินค้าที่ มีเรื่องวันหมดอายุ จะควบคุมด้วย Lot ,Expire Date, MFG Date จะเรียกว่า FEFO ฟีโฟ (First Expire First Out) การควบคุมแบบนี้คือสินค้าที่จะหมดอายุก่อน จะต้องนำไปจ่ายก่อน

    สินค้าที่ต้องมีการควบคุม อายุสินค้า (Shelf Life) จะใช้ร่วมกับ FEFO แต่จะต้องมีการควบคุม ในการรับ หรือการจ่าย

    • สินค้าที่รับเข้าคลังจะมี อายุไม่น้อยกว่า 80 % ของอายุสินค้า
    • การจ่ายสินค้า ไปยังลูกค้า ถ้าลูกค้ากำหนด เรื่องอายุสินค้าที่จะจ่าย ไปยังลูกค้า เช่น ต้องการ อายุสินค้าไม่น้อยกว่า 70 % ในส่วน เราจะเรียกว่า Modern trade Control ส่วนใหญ่จะใช้กับพวกห้างสรรพสินค้า เช่น Big C, Lotus,7-11 เป็นต้น โดยอาจจะต้องมีการควบคุมเรื่อง Lot ด้วยว่าในการส่งสินค้าแต่ละครั้งต้องไม่เกินกี่ Lot
    • สินค้าที่ควบคุมอุณหภูมิ
    • สินค้าที่ควบคุม Serial No

    การรับสินค้า (Inbound Order)

    เป็นการรับสินค้า เข้าคลังสินค้า จะต้องมีขั้นตอน อะไรบ้าง

    • ใบรับสินค้า สร้างเองในระบบหรือ เชื่อมต่อกับระบบอื่น เพื่อให้ได้ใบรับมา
    • เงื่อนไขในการับสินค้า เช่น ตรวจสอบสินค้า ตรงตามที่สั่งสินค้า
    • รับ เกินจำนวนที่สั่งได้หรือไม่
    • รับแล้ว พิมพ์ สติกเกอร์ติดสินค้าหรือไม่
    • ใช้บาร์โค้ดที่ติดมากับสินค้ารับสินค้าได้หรือไม่
    • ทะยอยรับสินค้า หรือไม่
    • จำนวนใบรับ ต่อวัน และ จำนวน บรรทัดของ ใบรับ

    การจ่ายสินค้า (Outbound Order)

    เป็นการจ่ายสินค้าออกจากคลังสินค้า โดยมีเงื่อนไขต่างๆ ในการจ่าย

    จ่ายโดย FIFO

    จ่ายโดย FEFO

    จ่ายแบบ ระบุ Serial No

    จำนวนใบจ่าย ต่อวัน และ จำนวน บรรทัดของ ใบจ่าย

    จำนวน ผู้ใช้งานในส่วนการจ่ายสินค้า จ่ายแบบรวม ใบหยิบ มีหรือไม่

    การหยิบสินค้า (Pick )

    เป็นขั้นตอนในการที่ต้องการหยิบสินค้า

    ช่วยกันหยิบสินค้า ใน  1 ใบหยิบหรือไม่

    การหยิบ มีลำดับการหยิบ หรือไม่

    การนับสินค้า(Count)

    การนับสินค้า เป็นการตรวจนับสินค้า ที่มีอยู่ในคลังสินค้า โดยจะต้องตรวจนับได้อย่างน้อย  แบบ

    • ปิดคลังนับ (Physical Count) เป็นการนับทุกสถานที่เก็บของสินค้า เพื่อตรวจสอบข้อมูลของคลังสินค้า ว่าตรงกับข้อมูลของระบบหรือไม่
    • นับตามรอบ ( Cycle Count ) โดยแยกนับ ตาม สินค้า หรือตาม สถานที่เก็บ

    การจัดเก็บสินค้า(Put a Way)

    เป็นการจัดเก็บสินค้า ตามเงื่อนไข ต่างๆของการจัดเก็บ เช่น

    • จัดเก็บ ตาม กลุ่มสินค้า
    • จัดเก็บตาม Lot, Expire Date
    • จัดเก็บตามอุณหภูมิ
    • จัดเก็บตามการเคลื่อนไหว เช่น สินค้าที่มีการเคลื่อนไหวมากสุด
    • จัดเก็บตาม สถานที่ว่าง

    สถานที่จัดเก็บ (Location )

    แบ่งสถานที่จัดเก็บไว้เป็นกี่แบบ

    บนแร็ค (Rack Location)

    บนพื้น( Floor location)

    อื่นๆ Etc.,

    ผู้ใช้งานในระบบ

    สามารถแบ่งผู้ใช้งาน เบื้องต้นดังนี้

    ทีมรับ  (Inbound)

    ทีมจัดเก็บPut a way

    ทีม (Picking)

    ทีมนับสินค้า (Count) เพื่อที่ประเมินผู้ใช้งานในระบบ ว่ามีปริมาณเท่าใด

    เครื่องมือต่างๆที่ใช้

    เป็นอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการทำงานของคลังสินค้า คือ Solution Barcode เช่น  Mobile Computer หรือ Handheld ,เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

  • ติดต่อ OGA International ได้ที่facebook : https://m.me/ogagroupLINE : https://lin.ee/g01sRts

    โทรศัพท์ : 020258888

    เลือกดูสินค้าอื่น ๆ ของเราได้ที่ https://www.oga.co.th/product/

28 สิงหาคมนี้ เตรียมโบกมือลา LINE Keep

บริการ LINE Keep จะหยุดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 สิงหาคมนี้ เวลา 12.00 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยไลน์ได้ประกาศอย่างเป็นทางการผ่านหน้าเว็บไซต์ในส่วนของศูนย์ช่วยเหลือ แนะนำให้ผู้ใช้งานดำเนินการสำรองข้อมูลก่อนวันดังกล่าว เพื่อรักษาข้อมูลสำคัญที่ได้จัดเก็บไว้ เช่น ข้อความสนทนา, รูปภาพ, ลิงก์, วิดีโอ และไฟล์เอกสารนามสกุลต่างๆ ภายในพื้นที่จำกัดไม่เกิน 1GB ที่ผู้ใช้มีในห้องสนทนาของแอปพลิเคชันไลน์   . อย่างไรก็ตาม, แม้ว่าบริการ LINE Keep จะสิ้นสุดลง ผู้ใช้ยังสามารถใช้งานบริการ Keep Memo ได้ต่อไป ซึ่ง Keep Memo นั้นเป็นการเก็บข้อมูลชั่วคราวและไม่ถูกบันทึกไว้เป็นการถาวร . ✅ วิธีสำรองข้อมูลรูปและวิดีโอ จาก LINE Keep 1. เข้าไปที่หน้าหลัก > แตะไอคอน Keep ที่มุมขวาบนของจอ 2. แตะ “ดาวน์โหลดรูปและวิดีโอ” 3. เลือกรูปและวิดีโอที่ต้องการบันทึก จากนั้นแตะ […]

ทำความรู้จักเลข 13 หลักบนบาร์โค้ด

บาร์โค้ด (Barcode) หรือ “รหัสแท่ง” เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลอย่างง่าย ประกอบด้วยเส้นสีดำเล็กๆ วางเป็นแนวดิ่งเรียงต่อกัน โดยมีตัวเลขหรือตัวอักษรกำกับไว้ด้านล่าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถอ่านได้โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดหรือสแกนเนอร์ หนึ่งในรูปแบบที่พบมากที่สุดของบาร์โค้ดคือบาร์โค้ดที่มี 13 หลัก หรือที่รู้จักกันในชื่อ European Article Number หรือ EAN-13 มาทำความรู้จักกับเลข 13 หลักบนบาร์โค้ดว่ามีความหมายอย่างไรและมีการใช้งานอย่างไรบ้าง     ความหมายของเลข 13 หลักบนบาร์โค้ด EAN-13 เป็นมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการระบุสินค้าและบริการอย่างเป็นสากล โดยเลข 13 หลักนี้มีการแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ หลักแรก : ระบุประเทศหรือภูมิภาคที่ออกแบบบาร์โค้ดหรือผู้ผลิต (ไม่ใช่ต้นกำเนิดของสินค้า) หลักที่ 2-7 : ระบุผู้ผลิตหรือบริษัทที่จดทะเบียนบาร์โค้ดนั้น (บางครั้งอาจถึงหลักที่ 8) หลักที่ 8-12 : ระบุข้อมูลเฉพาะของสินค้า หลักสุดท้าย : เป็นตัวเลขตรวจสอบ (Check Digit) ที่ใช้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด .   . […]

RPA ตัวช่วยลดการทำงาน เพื่อธุรกิจในยุค Digital

ในยุคดิจิทัลที่การแข่งขันในโลกธุรกิจเป็นไปอย่างดุเดือดและไม่หยุดยั้ง การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการดำเนินงานกลายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง หนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมและกำลังมาแรงในการช่วยเหลือธุรกิจให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพคือระบบ RPA หรือ Robotic Process Automation ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดการทำงานซ้ำซากและเพิ่มความเร็วให้กับกระบวนการทำงานขององค์กรได้อย่างมาก     RPA คือการใช้ซอฟต์แวร์หรือ ‘หุ่นยนต์’ ในการจำลองกิจกรรมของมนุษย์ที่ทำซ้ำๆ บนคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและกระบวนการต่างๆ ที่ต้องใช้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ระบบ RPA สามารถเขียนโปรแกรมให้ทำงานต่างๆ เช่น การป้อนข้อมูล, การอัพเดตข้อมูล, การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหรือเว็บไซต์, และการจัดการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ . . ประโยชน์ของ RPA ในธุรกิจยุค Digital 1. ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วและไม่มีข้อผิดพลาด โดยทำงานที่ซ้ำซากและเวลานานให้เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วและถูกต้อง 2. ช่วยให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจ้างงานและการฝึกอบรมพนักงานเพื่อทำงานซ้ำๆ ที่ไม่เพิ่มค่าให้กับธุรกิจ 3. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ด้วยความสามารถในการทำงานได้อย่างไม่หยุดหย่อนและมีประสิทธิภาพสูง RPA ช่วยให้ธุรกิจสามารถให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้นและเร็วขึ้น 4. ระบบ RPA มีความแม่นยำสูงและลดโอกาสในการเกิดข้อผิดพลาดของมนุษย์ ซึ่งช่วยเพิ่มความมั่นคงและความปลอดภัยในการดำเนินงานข้อมูล . การประยุกต์ใช้ RPA ในอุตสาหกรรมต่างๆ RPA ได้รับความนิยมในหลายอุตสาหกรรม […]

Login