Login

Register

Login

Register

Login

Register

ระบบ Warehouse Automation คืออะไร

เทคโนโลยีใหม่ ๆ มีส่วนอย่างมากในการช่วยให้ระบบการทำงานในยุคสมัยใหม่ง่ายขึ้น เร็วขึ้น สะดวกขึ้น แม่นยำมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงต้นทุนที่ถูกลงกว่าเดิม และระบบที่จะขาดไปไม่ได้ในยุคนนี้คือ Warehouse Automation หรือระบบจัดการคลังสินค้าแบบอัตโนมัติ

ระบบตัวนี้จะเข้ามาช่วยเพิ่มความแม่นยำ ความเร็ว และความปลอดภัยในการทำงานให้มายิ่งขึ้น ตัวระบบจะมีการปรับแต่งได้หลากหลายมากมาย ให้เหมาะสมกับสถานที่ต่าง ๆ กันไป

Warehouse Automation

ตัวระบบไม่ได้จะเข้ามาแทนที่มนุษย์ทั้งหมด แต่จะช่วยลดความต้องการแรงงานมนุษย์ลง ตัวระบบจะมีหุ่นยนต์ค่อยทำงานร่วมกันหลากหลายประเภท สามารถทำงานต่อเนื่องได้เป็นระยะเวลานาน ไม่มีความเมื่อยล้าแต่อย่างใด สามารถติดตั้งได้แบบทั้งระบบตั้งแต่รับของเข้า ไปจนถึงการจ่ายตามรายการสั่งซื้อเลย หรือจะติดตั้งเป็นบางส่วน เพื่อทำงานร่วมกับสายงานที่มีพนักงานเดิมก็ได้

ประเภทของระบบ Automation นั้นมีมากมายหลากหลายแบบ ลองดูตัวอย่างบางประเภทที่ยกมาให้ดูกัน

Goods-to-person technologies

หรือชื่อย่อว่า GTP เป็นระบบที่จะใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยหยิบสินค้าต่าง ๆ ให้กับพนักงาน เพื่อนำเอาไปแพ็กในบรรจุภัณฑ์ สามารถใช้ได้ทั้งแบบเครน หรือรถ เคลื่อนที่ไปยังจุดต่าง ๆ รอบ ๆ คลังสินค้า ตัวระบบยังรวมไปถึงการจัดเก็บอัตโนมัติ Automated Storage, การถึงข้อมูล Retrieval Solutions และระบบสายพาน Conveyer Systems

Pick-to-light systems

ตัวนี้จะเป็นระบบช่วยให้พนักงานสามารถหยิบสินค้าต่าง ๆ ได้ง่าย และแม่นยำมากขึ้น โดยจะแสดงไฟ LED ที่หน้าชั้นวางสินค้าแต่ละตัว เพื่อบอกให้รู้ว่าต้องหยิบชิ้นไหน ตรงไหนบ้าง ดูแค่ไฟพอ ไม่ต้องคอยเล็กอ่านป้ายทุกป้าย เพิ่ม Productivity ให้มากขึ้น เร็วขึ้น

Warehouse Automation

Voice picking and voice tasking

ระบบเชื่อมต่อกับหูฟังไร้สายกับพนักงานหยิบสินค้าผ่านทางเสียง เพื่อความแม่นยำมากยิ่งขึ้นด้วยการสื่อสารผ่านเสียง

Sortation systems

เป็นเทคโนโลยีในการช่วยแยกสินค้าแต่ละตัว หรือประเภท ให้ไปยังที่ต่าง ๆ ที่กำหนดเอาไว้ เป็นการจ่ายสินค้าลงไปยังที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ ลดปัญหา Error ในการจ่ายผิด ไม่ต้องคอยมานั่งตามแก้ปัญหา

Warehouse Automation

Collaborative mobile robots

เป็นระบบที่จะใช้หุ่นยนต์เข้ามาทำงานควบคู่กันกับมนุษย์เลย เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการหยิบสินค้า และ Productivity คอยแนะนำทุกขั้นตอนในการหยิบสินค้า หุ่นบางตัวยังสามารถกำหนดเส้นทางในการไปหยิบสินค้าให้ด้วย เพื่อให้เป็นเส้นทางที่ง่าย และรวดเร็วที่สุด โดยอิงจากข้อมูลสถานะคลังสินค้า และความสำคัญของงาน ให้ทั้งความยืดหยุ่น ความเสถียร รองรับการขยายสเกล ลดเวลาในการเดิน ประโยชน์มากมายเหลือล้น

Drones

ระบบตัวนี้จะใช้จัดการรายการสินค้าต่าง ๆ ที่เก็บเอาไว้ มาพร้อมตัวอ่านบาร์โค้ด เพื่อนับจำนวนสินค้าคงคลัง และคอยแจ้งเตือนพนักงานเมื่อจำเป็นต้องเติมสินค้า หรือเมื่อสินค้าเหลือน้อยแล้ว หรือจะเป็นการแจ้งเตือนเมื่อพบเจอสินค้าที่ถูกเก็บเอาไว้ผิดตำแหน่ง และองค์บางเจ้า ยังนำเอาระบบ Drones นี้มาใช้สำหรับการส่งสินค้าแล้วด้วย

ติดต่อ OGA International ได้ที่

facebook : https://m.me/ogagroup

LINE : https://lin.ee/g01sRts

โทรศัพท์ : 020258888

เลือกดูสินค้าอื่น ๆ ของเราได้ที่ https://www.oga.co.th/product/

OGA ออกบูธในงาน Logimat Southeast Asia

LogiMAT Southeast Asia 2024 . งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีชั้นนำด้านอินทราโลจิสติกส์ คลังสินค้าอัจฉริยะ และกระบวนการจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน ร่วมกับ LogiFOOD Southeast Asia งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์อาหารครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก . . ทาง OGA ยกขบวนสินค้าแบรนด์ดังไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด แสกนเนอร์ Mobile Computer ของทาง Honeywell มาพร้อมซอร์ฟแวร์สร้างบาร์โค้ด จากทาง Bartender อีกทั้งยังมีสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดทุกชนิด ทุกเนื้อกระดาษ และริบบอนแบรนด์ inkanto บอกเลยว่างานนี้จัดเต็ม ตอบโจทย์ในหลายธุรกิจ .       .     .     . ทาง OGA ขอขอบพระคุณลูกค้าทุกท่านที่มาเยี่ยมชมบูธของทางเรา และให้การตอบรับที่ดี เราพร้อมเป็นที่ปรึกษาและให้ข้อมูลด้านโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ในธุรกิจของลูกค้าทุกท่าน .         . . —– […]

ความแตกต่าง Barcode, QR Code และ RFID

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น การใช้งานระบบระบุและติดตามข้อมูลต่าง ๆ ก็ยิ่งมีความสำคัญและแพร่หลายออกไป เทคโนโลยีที่นิยมใช้ในการระบุและติดตามข้อมูลที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ Barcode, QR Code, และ RFID ทั้งสามเทคโนโลยีนี้มีคุณสมบัติและวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างทั้งสามเทคโนโลยี 1. Barcode (บาร์โค้ด) บาร์โค้ดเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้มานานและแพร่หลายที่สุด โดยทั่วไปจะเป็นเส้นคู่ขนานสีดำและขาว ที่มีการเรียงรหัสข้อมูลตามรูปแบบเส้นเพื่อบ่งบอกข้อมูลต่าง ๆ เช่น หมายเลขสินค้า วันผลิต หรือราคาสินค้า ข้อมูลในบาร์โค้ดสามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนบาร์โค้ด ซึ่งมีการใช้งานในหลากหลายธุรกิจ เช่น ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า และคลังสินค้า   ข้อดี ● ราคาถูกและหาได้ง่าย ● ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพในงานที่ต้องการความเร็วในการอ่านข้อมูล ข้อเสีย ● มีความจุข้อมูลจำกัด ● ต้องใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดในการอ่านข้อมูล 2. QR Code (คิวอาร์โค้ด) QR Code เป็นการพัฒนามาจากบาร์โค้ดที่เพิ่มความสามารถในการเก็บข้อมูลที่มากขึ้นและซับซ้อนกว่า QR Code มีรูปแบบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีจุดและลวดลายต่าง ๆ ที่สามารถอ่านได้จากทุกทิศทาง ทำให้มีการใช้งานที่สะดวกและมีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลที่มากกว่าบาร์โค้ด   […]

บาร์โค้ด 1D กับ 2D แตกต่างกันอย่างไร

บาร์โค้ดเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุข้อมูลและติดตามผลิตภัณฑ์โดยการสแกน บาร์โค้ดแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก คือ บาร์โค้ดแบบ 1D (One-Dimensional) และบาร์โค้ดแบบ 2D (Two-Dimensional) บาร์โค้ดทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของรูปแบบและการใช้งาน . . ▶ บาร์โค้ดแบบ 1D (One-Dimensional Barcode) . . ลักษณะ บาร์โค้ดแบบ 1D เป็นบาร์โค้ดที่มีลักษณะเป็นแถบเส้นที่เรียงตัวกันในแนวเดียว (แนวนอน) เส้นเหล่านี้ประกอบไปด้วยเส้นสีดำและช่องว่างสีขาวที่มีความกว้างและขนาดแตกต่างกัน ข้อมูลที่เก็บอยู่ในบาร์โค้ดแบบ 1D จะอยู่ในรูปแบบของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งอ่านได้โดยการสแกนจากซ้ายไปขวา สามารถเก็บข้อมูลได้จำกัด ประมาณ 20–25 อักขระ การใช้งาน ● สินค้าทั่วไปในร้านค้า : ใช้ในการสแกนและระบุสินค้าที่แคชเชียร์ ● การจัดการคลังสินค้า : ใช้ในการติดตามสินค้าและการตรวจนับสินค้าในคลัง ● อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ : ใช้ในการติดตามพัสดุและการขนส่งสินค้า . . ▶ บาร์โค้ดแบบ 2D (Two-Dimensional Barcode) . . […]

Login