Login

Register

Login

Register

Login

Register

ประเภทและชนิดสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด สติ๊กเกอร์พิมพ์บาร์โค้ด

สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด สติ๊กเกอร์พิมพ์บาร์โค้ด

สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด สติ๊กเกอร์พิมพ์บาร์โค้ด

ประเภทและชนิดสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด สติ๊กเกอร์พิมพ์บาร์โค้ด

ปัจจุบันสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด หรือสติ๊กเกอร์พิมพ์บาร์โค้ด มีอยู่หลากหลายชนิด หลากหลายประเภท เราได้หยิบยกเอาประเภทที่มีการใช้งานเป็นส่วนใหญ่มาให้ได้รู้จักกัน เพื่อนำเอาไปเลือกใช้ได้ตรงกับความต้องการ และประเภทงานของคุณ

Gloss กึ่งมันกึ่งด้าน

นับว่าเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมเอาไปใช้พิมพ์บาร์โค้ดมากที่สุด เพราะว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสม และราคาไม่แพง ใช้กับงานทั่วไปได้ดี

Direct (ไม่ต้องใช้หมึก Ribbon)

กระดาษชนิดนี้มีการเคลือบสารเคมีเอาไว้ที่ผิวกระดาษ ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เมื่อนำเอาไปพิมพ์ผ่านหัวพิมพ์ความร้อน ตัวสารเคมีก็จะเปลี่ยนสีให้เรามองเห็นได้ชัดเจน ส่วนใหญ่มักจะถูกนำเอาไปใช้กับใบเสร็จการซื้อสินค้า หรืองานที่ไม่ต้องการใช้ผ้าหมึก Ribbon

TTR ขาวด้าน

เป็นกระดาษที่ผิวด้าน ไม่มีความมันเงาเลย เหมาะกับงานพิมพ์ธรรมดาทั่วไปเช่นเดียวกัน

Art มัน

เป็นกระดาษผิวมันเงา เหมาะกับงานพิมพ์สีฉลาก หรืองาน Pre-Print

UPO (เนื้อเหนียว ฉีกไม่ขาด)

ชนิดนี้เป็นเนื้อพลาสติก ที่ทนต่อการฉีกขาด ทำให้มีความทนทานมากเป็นพิเศษ เหมาะกับงานห้องเย็น หรือติดบนสินค้าที่ต้องการความคงทนระยะเวลายาวนาน

Foil (ฟอยล์)

เป็นแบบเนื้อสีเงิน มีความคงทนสูง สามารถทนความร้อนได้ ส่วนใหญ่นิยมนำไปใช้ติดบนทรัพย์สินขององค์กร

หางหนู (ติดเครื่องประดับ)

เป็นชนิดเนื้อเหนียว ฉีกไม่ขาด มีความมันเงา ส่วนใหญ่จะใช้กับการติดบนสินค้าเครื่องประดับ เพราะมีส่วนปลายที่แคบบาง สามารถพันบนส่วนของเครื่องประดับชิ้นเล็ก ๆ ได้

เลือกชนิดสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด สติ๊กเกอร์พิมพ์บาร์โค้ด ใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับงาน

จะเห็นได้ว่ามีชนิดของสติ๊กเกอร์บาร์โค้ด สติ๊กเกอร์พิมพ์บาร์โค้ดหลากลายประเภท แต่ละประเภทนั้น ก็เหมาะสมกับงานแตกต่างลักษณะกันไป และยังมีราคาที่แตกต่างกันด้วย ถ้าหากว่าเลือกที่คุณภาพดีมาก ทนทานมาก แต่เอามาใช้กับงานทั่วไป ก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนที่สูงเกินไป ดังนั้น จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับประเภทของงาน ถ้าหากว่าสงสัยประเภท หรือคุณสมบัติต่าง ๆ อื่น ๆ สามารถติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมจากทาง OGA ได้เลยนะคะ

ความแตกต่าง Barcode, QR Code และ RFID

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น การใช้งานระบบระบุและติดตามข้อมูลต่าง ๆ ก็ยิ่งมีความสำคัญและแพร่หลายออกไป เทคโนโลยีที่นิยมใช้ในการระบุและติดตามข้อมูลที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ Barcode, QR Code, และ RFID ทั้งสามเทคโนโลยีนี้มีคุณสมบัติและวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างทั้งสามเทคโนโลยี 1. Barcode (บาร์โค้ด) บาร์โค้ดเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้มานานและแพร่หลายที่สุด โดยทั่วไปจะเป็นเส้นคู่ขนานสีดำและขาว ที่มีการเรียงรหัสข้อมูลตามรูปแบบเส้นเพื่อบ่งบอกข้อมูลต่าง ๆ เช่น หมายเลขสินค้า วันผลิต หรือราคาสินค้า ข้อมูลในบาร์โค้ดสามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนบาร์โค้ด ซึ่งมีการใช้งานในหลากหลายธุรกิจ เช่น ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า และคลังสินค้า   ข้อดี ● ราคาถูกและหาได้ง่าย ● ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพในงานที่ต้องการความเร็วในการอ่านข้อมูล ข้อเสีย ● มีความจุข้อมูลจำกัด ● ต้องใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดในการอ่านข้อมูล 2. QR Code (คิวอาร์โค้ด) QR Code เป็นการพัฒนามาจากบาร์โค้ดที่เพิ่มความสามารถในการเก็บข้อมูลที่มากขึ้นและซับซ้อนกว่า QR Code มีรูปแบบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีจุดและลวดลายต่าง ๆ ที่สามารถอ่านได้จากทุกทิศทาง ทำให้มีการใช้งานที่สะดวกและมีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลที่มากกว่าบาร์โค้ด   […]

บาร์โค้ด 1D กับ 2D แตกต่างกันอย่างไร

บาร์โค้ดเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุข้อมูลและติดตามผลิตภัณฑ์โดยการสแกน บาร์โค้ดแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก คือ บาร์โค้ดแบบ 1D (One-Dimensional) และบาร์โค้ดแบบ 2D (Two-Dimensional) บาร์โค้ดทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของรูปแบบและการใช้งาน . . ▶ บาร์โค้ดแบบ 1D (One-Dimensional Barcode) . . ลักษณะ บาร์โค้ดแบบ 1D เป็นบาร์โค้ดที่มีลักษณะเป็นแถบเส้นที่เรียงตัวกันในแนวเดียว (แนวนอน) เส้นเหล่านี้ประกอบไปด้วยเส้นสีดำและช่องว่างสีขาวที่มีความกว้างและขนาดแตกต่างกัน ข้อมูลที่เก็บอยู่ในบาร์โค้ดแบบ 1D จะอยู่ในรูปแบบของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งอ่านได้โดยการสแกนจากซ้ายไปขวา สามารถเก็บข้อมูลได้จำกัด ประมาณ 20–25 อักขระ การใช้งาน ● สินค้าทั่วไปในร้านค้า : ใช้ในการสแกนและระบุสินค้าที่แคชเชียร์ ● การจัดการคลังสินค้า : ใช้ในการติดตามสินค้าและการตรวจนับสินค้าในคลัง ● อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ : ใช้ในการติดตามพัสดุและการขนส่งสินค้า . . ▶ บาร์โค้ดแบบ 2D (Two-Dimensional Barcode) . . […]

8 ประโยชน์ของระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Warehouse System)

ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Warehouse System) เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการคลังสินค้าในยุคดิจิทัล ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดข้อผิดพลาด และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กรได้อย่างมาก การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในคลังสินค้าจึงมีประโยชน์หลากหลายประการ ดังนี้ . . ▶ ประโยชน์ของการใช้ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Warehouse System) . 1. เพิ่มความแม่นยำในการจัดการคลังสินค้า ระบบอัตโนมัติช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานของมนุษย์ เช่น การจัดเก็บสินค้าผิดตำแหน่ง การนับสต็อกผิดพลาด หรือการจัดส่งสินค้าผิด ทำให้การดำเนินงานมีความถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความพึงพอใจของลูกค้า 2. ลดเวลาการดำเนินงาน ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติช่วยลดเวลาที่ใช้ในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การรับสินค้า การจัดเก็บ และการจัดส่ง ด้วยการทำงานอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วของหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติ ทำให้สามารถประมวลผลคำสั่งซื้อได้เร็วขึ้น และทำให้การบริการลูกค้ามีความรวดเร็วมากขึ้นเช่นกัน 3. ลดต้นทุนในการดำเนินงาน การใช้ระบบอัตโนมัติช่วยลดความต้องการในการใช้แรงงานมนุษย์ในการดำเนินงานคลังสินค้า ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างและการฝึกอบรมพนักงาน นอกจากนี้ยังช่วยลดความต้องการในการใช้พื้นที่สำหรับจัดเก็บสินค้า ทำให้สามารถจัดการพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4. เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติช่วยลดความเสี่ยงในการทำงานที่เป็นอันตราย เช่น การยกของหนักหรือการทำงานในสภาวะที่ไม่ปลอดภัย ทำให้พนักงานมีความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น และลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน . 5. เพิ่มความสามารถในการวางแผนและติดตามสินค้า ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย […]

Login