Login

Register

Login

Register

Login

Register

ธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมทดลองใช้สกุลเงินดิจิทัล CBDC ไตรมาส 2/65

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมทดสอบใช้งานจริง (Pilot Test) สกุลเงินดิจิทัลที่ออกแบบเอง สำหรับใช้งานกับภาคธุรกิจรายย่อย หรือ Retail CBCD

โดยจะมีการศึกษาผลกระทบต่าง ๆ ต่อภาคการเงินของไทย และมีการสำรวจความคิดเห็นของสาธารณชน เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบให้ดีมากยิ่งขึ้น

นางสาววชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

การศึกษาผลกระทบของ Retail CBDC ต่อภาคการเงินไทย

ผลการศึกษาชี้ว่า การออกแบบและการพัฒนา Retail CBDC ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องไม่สร้างผลกระทบรุนแรงต่อการส่งผ่านนโยบายการเงิน การทำงานของระบบสถาบันการเงิน และเสถียรภาพโดยรวมของภาคการเงินไทย โดยจะมีลักษณะสำคัญ คือ (1) รูปแบบคล้ายเงินสด และไม่จ่ายดอกเบี้ย (2) อาศัยตัวกลาง เช่น สถาบันการเงิน ในการแลกเปลี่ยน Retail CBDC กับประชาชน

และ (3) มีเงื่อนไขหรือระยะเวลาสำหรับการแลกเปลี่ยน Retail CBDC จำนวนมากๆ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดการแข่งขันกับเงินฝากหรือเกิดการโยกย้ายเงินฝากปริมาณมากอย่างรวดเร็วจากสถาบันการเงิน ซึ่งจะกระทบต่อการทำหน้าที่ตัวกลางในการรับเงินฝากและให้กู้ยืม รวมถึงการบริหารสภาพคล่องของระบบสถาบันการเงิน

ธปท. ประเมินว่าความต้องการใช้ Retail CBDC ของประชาชนจะเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และ Retail CBDC จะเข้ามาเป็นอีกทางเลือกในการชำระเงินให้กับประชาชน โดยอาจถูกใช้ทดแทนเงินสดและ e-money ได้บางส่วนในระยะต่อไป

ผลสำรวจความเห็นจากสาธารณชน

จากผลสำรวจ ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางการพัฒนา Retail CBDC ของ ธปท. และมองว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินที่ปลอดภัย เปิดกว้างต่อการเข้าถึงและการแข่งขันในอนาคต นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยกับแนวทางการออกแบบ Retail CBDC ข้างต้นเพื่อจำกัดผลกระทบเชิงลบต่อภาคการเงินไทย

ทั้งนี้ ผลสำรวจบางส่วนเสนอเพิ่มเติมให้ ธปท. มุ่งเน้นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และการใช้งานของ Retail CBDC แก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะความแตกต่างจากการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน

แผนการทดสอบ Retail CBDC เพื่อใช้งานจริงในวงจำกัด (Pilot test)

จากผลการศึกษาและความเห็นที่ได้รับข้างต้น ธปท. จึงกำหนดแนวทางการพัฒนาและทดสอบการใช้งาน Retail CBDC ดังนี้

1) การทดสอบระดับพื้นฐาน (Foundation Track) เพื่อศึกษาการใช้งาน Retail CBDC ในการรับแลก หรือใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการในวงจำกัด ซึ่ง ธปท. คาดว่าจะเริ่มทดสอบในไตรมาส 2 ปี 2565

2) การทดสอบระดับนวัตกรรม (Innovation Track) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาต่อยอดการใช้งาน Retail CBDC ในกรณีต่างๆ โดย ธปท. จะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือนักพัฒนาเข้าร่วมทดสอบด้วย ซึ่งขณะนี้ ธปท. อยู่ระหว่างการพิจารณารูปแบบและหลักเกณฑ์ในการเข้าร่วมทดสอบ

ธปท. จะประเมินผลลัพธ์และความเสี่ยงด้านต่างๆ จากการทดสอบการใช้งานข้างต้น เพื่อให้มั่นใจว่า Retail CBDC จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ภาคธุรกิจ และประเทศในภาพรวม และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินในอนาคต

แหล่งข่าว กรุงเทพธุรกิจ

OGA ออกบูธในงาน Logimat Southeast Asia

LogiMAT Southeast Asia 2024 . งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีชั้นนำด้านอินทราโลจิสติกส์ คลังสินค้าอัจฉริยะ และกระบวนการจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน ร่วมกับ LogiFOOD Southeast Asia งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์อาหารครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก . . ทาง OGA ยกขบวนสินค้าแบรนด์ดังไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด แสกนเนอร์ Mobile Computer ของทาง Honeywell มาพร้อมซอร์ฟแวร์สร้างบาร์โค้ด จากทาง Bartender อีกทั้งยังมีสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดทุกชนิด ทุกเนื้อกระดาษ และริบบอนแบรนด์ inkanto บอกเลยว่างานนี้จัดเต็ม ตอบโจทย์ในหลายธุรกิจ .       .     .     . ทาง OGA ขอขอบพระคุณลูกค้าทุกท่านที่มาเยี่ยมชมบูธของทางเรา และให้การตอบรับที่ดี เราพร้อมเป็นที่ปรึกษาและให้ข้อมูลด้านโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ในธุรกิจของลูกค้าทุกท่าน .         . . —– […]

ความแตกต่าง Barcode, QR Code และ RFID

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น การใช้งานระบบระบุและติดตามข้อมูลต่าง ๆ ก็ยิ่งมีความสำคัญและแพร่หลายออกไป เทคโนโลยีที่นิยมใช้ในการระบุและติดตามข้อมูลที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ Barcode, QR Code, และ RFID ทั้งสามเทคโนโลยีนี้มีคุณสมบัติและวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างทั้งสามเทคโนโลยี 1. Barcode (บาร์โค้ด) บาร์โค้ดเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้มานานและแพร่หลายที่สุด โดยทั่วไปจะเป็นเส้นคู่ขนานสีดำและขาว ที่มีการเรียงรหัสข้อมูลตามรูปแบบเส้นเพื่อบ่งบอกข้อมูลต่าง ๆ เช่น หมายเลขสินค้า วันผลิต หรือราคาสินค้า ข้อมูลในบาร์โค้ดสามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนบาร์โค้ด ซึ่งมีการใช้งานในหลากหลายธุรกิจ เช่น ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า และคลังสินค้า   ข้อดี ● ราคาถูกและหาได้ง่าย ● ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพในงานที่ต้องการความเร็วในการอ่านข้อมูล ข้อเสีย ● มีความจุข้อมูลจำกัด ● ต้องใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดในการอ่านข้อมูล 2. QR Code (คิวอาร์โค้ด) QR Code เป็นการพัฒนามาจากบาร์โค้ดที่เพิ่มความสามารถในการเก็บข้อมูลที่มากขึ้นและซับซ้อนกว่า QR Code มีรูปแบบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีจุดและลวดลายต่าง ๆ ที่สามารถอ่านได้จากทุกทิศทาง ทำให้มีการใช้งานที่สะดวกและมีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลที่มากกว่าบาร์โค้ด   […]

บาร์โค้ด 1D กับ 2D แตกต่างกันอย่างไร

บาร์โค้ดเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุข้อมูลและติดตามผลิตภัณฑ์โดยการสแกน บาร์โค้ดแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก คือ บาร์โค้ดแบบ 1D (One-Dimensional) และบาร์โค้ดแบบ 2D (Two-Dimensional) บาร์โค้ดทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของรูปแบบและการใช้งาน . . ▶ บาร์โค้ดแบบ 1D (One-Dimensional Barcode) . . ลักษณะ บาร์โค้ดแบบ 1D เป็นบาร์โค้ดที่มีลักษณะเป็นแถบเส้นที่เรียงตัวกันในแนวเดียว (แนวนอน) เส้นเหล่านี้ประกอบไปด้วยเส้นสีดำและช่องว่างสีขาวที่มีความกว้างและขนาดแตกต่างกัน ข้อมูลที่เก็บอยู่ในบาร์โค้ดแบบ 1D จะอยู่ในรูปแบบของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งอ่านได้โดยการสแกนจากซ้ายไปขวา สามารถเก็บข้อมูลได้จำกัด ประมาณ 20–25 อักขระ การใช้งาน ● สินค้าทั่วไปในร้านค้า : ใช้ในการสแกนและระบุสินค้าที่แคชเชียร์ ● การจัดการคลังสินค้า : ใช้ในการติดตามสินค้าและการตรวจนับสินค้าในคลัง ● อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ : ใช้ในการติดตามพัสดุและการขนส่งสินค้า . . ▶ บาร์โค้ดแบบ 2D (Two-Dimensional Barcode) . . […]

Login