Login

Register

Login

Register

Login

Register

8 เทรนด์เทคโนโลยีอนาคตธุรกิจ Logistics

คงปฏิเสธกันไม่ได้ว่าเทคโนโลยี กลายมาเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจในปัจจุบัน วันนี้ #OGA ขอพาทุกคนมารู้จักกับ 8 เทรนด์เทคโนโลยีในสายธุรกิจ #Logistics กันหน่อย ว่าอะไรที่กำลังจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสู่ยุคต่อไปกันบ้าง

RFID

ชื่อเต็ม ๆ ของเทคโนโลยีนี้มีชื่อว่า Radio-frequency Identity แต่เรียกย่อ ๆ ว่า RFID นั่นเอง จริง ๆ แล้วก็ไม่ได้ใหม่อะไรมากมายนัก เพราะมีมากว่าทศวรรษแล้ว โดยจุดเด่นสำคัญของมันคือความสามารถในการติดตามข้อมูลได้แบบ real-time สามารถเอาตัวชิปมาติดตั้งเข้ากับตัวรถ, พาเลตขนสินค้า และในระบบการจัดเก็บสินค้าต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เราสามารถดูข้อมูลเส้นทางการขนส่ง และตำแหน่งของสินค้าต่าง ๆ ได้ทันที ยืดหยุ่นต่อการจัดการบริหารอย่างมา

Omnichannel Shipping

เป็นการปรับปรุงวิธีการขนส่ง โดยการรวมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในงานขนส่ง (Delivery) รูปแบบต่างๆ มาทำการบริหารจัดการร่วมกัน สามารถทำการเชื่อมโยงข้อมูลในกระบวนการตั้งแต่ การรับ การเก็บ การหยิบ การบรรจุแพคใหม่ การเบิกจ่าย และนำส่งถึงลูกค้า

Big Data

ถือเป็นแนวทางเทคโนโลยีใหม่ที่หลากหลายบริษัทชั้นนำทั่วโลกต่างกำลังนำเอามาใช้งานกัน และในสาย Logistics เอง ก็มี UPS ที่นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จมาให้เห็น ผ่านการเก็บข้อมูลต่าง ๆ หลังจากนั้นก็นำข้อมูลที่เก็บจำนวนมากมหาศาลมาทำการวิเคราะห์ จนได้ผลลัพธ์สำหรับการนำเอาไปทำการคาดการณ์ล่วงหน้า สำหรับการลงทุน บริหาร หรือปรับเปลี่ยนส่วนต่าง ๆ ภายในองค์กรให้ตรงตามความต้องการของธุรกิจ และลูกค้ามากยิ่งขึ้น

Embedded Integration Technology

เป็นเทคโนโลยีระบบด้านซอฟต์แวร์ ที่จะเข้ามาช่วยให้ข้อมูลที่เรามี สามารถนำเอาไปใช้ในโซลูชั่นต่าง ๆ ที่มีทั้งหมดได้ เพื่อเพิ่มประสบกาณ์ของลูกค้าที่ดีขึ้น ตัวอย่างเช่นการนำเอาขอมูลจากส่วนแผนกนึง ไปใช้งานต่อกับอีกแผนกนึง เกิดความครบถ้วนของข้อมูลลูกค้า สามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งหมดที่มี เพื่อให้บริการลูกค้าได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องร้องขอดูข้อมูลใด ๆ เพิ่มเติมจากลูกค้าอีก เพราะเราสามารถเรียกดูข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นได้ เป็นต้น

Globalization and Compliance

แน่นอนว่าปัจจุบันนี้ โลกนั้นถือว่าเล็กลง มีการแข่งขันจากคู่แข่งทุกที่ทั่วโลกเข้ามามากยิ่งขึ้น ใกล้ตัวเรามากยิ่งขึ้น การวางแผนธุรกิจที่มองภาพได้กว้าง พร้อมกับความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ที่จำเป็นทั้งหมด รวมถึงเครื่องมือเทคโนโลยีใหม่ ๆ โซลูชั่นต่าง ๆ จะเข้ามาช่วยให้ธุรกิจของเราดำเนินการได้เป็นอย่างดี สามารถปรับตัวรับมือกับทั้งวิกฤตและโอกาสใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอได้ ดังนั้นจึงสำคัญมาก ในการมองหา เรียนรู้ สิ่งใหม่ ๆ รอบตัวอยู่ตลอดเวลา ว่าโลกนั้นไปถึงไหนแล้ว

Integrated 3PL Services

คือการห้บริการโลจิสติกส์ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการทั้งหมด หรือบางส่วนของกิจกรรมโลจิสติกส์ เช่น บริการด้านการขนส่ง ด้านคลังสินค้า การกระจายสินค้า บริการด้านการเงิน รวมถึงด้านเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการเชื่อมโยงและรับช่วงต่อการขนส่งในแต่ละรูปแบบของการขนส่งสินค้าจากต้นทางจนถึงจุดหมายปลายทาง ได้แก่ บริษัท Shipping Agency หรือ Freight Forwarder ต่างๆ อาทิบริษัทที่ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีน ทั้งทางบกและทางน้ำ รวมถึงเดินพิธีการศุลกากรอย่างถูกต้องตามขั้นตอน มีเอกสารนำเข้าที่ครบถ้วน โดยที่ผู้ใช้บริการนำเข้ากับบริษัทไม่ต้องเดินเรื่องด้วยตนเอง เพียงลงทะเบียนและชำระเงินในระบบออนไลน์ก็สามารถรอรับสินค้าที่ปลายทางได้ทันที

Re-Optimized Service Lines

เมื่อช่วงวิกฤตระลอกแรกเกิดขึ้น เราคงจำกันได้ถึงปัญหาต่าง ๆ มากมายที่เกิดขึ้นกับธุรกิจมากมายทั่วทั้งโลก และ Logistics เองก็ต้องมีการปรับตัวด้วยเช่นเดียวกัน สิ่งจำเป็นนั้นคือความพร้อมในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริการ ให้สอดคล้องไปกับอุตสาหกรรมที่กำลังกลายเป็นช่วงขาขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆ อย่างเช่นธุรกิจอาหาร, กระดาษ และแพกเกจจิง

Embracing Modern Integration Technology

คงจะเห็นภาพกันแล้วว่าธุรกิจ Logistics นั้นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากขนาดไหน และยังต้องมีความยืดหยุ่นพร้อมปรับตัวรับมือกับสถานการณ์รูปบแบบต่าง ๆ ตลอดเวลาอีกด้วย การพยายามหาเทคโนโลยีล้ำหน้าใหม่ ๆ มาใช้กับธุรกิจอยู่ตลอดเวลา เพื่อขั้นตอนทำงานต่าง ๆ นั้นง่ายขึ้น เร็วชึ้น สะดวกขึ้น จัดการได้ง่ายขึ้น และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้น้อยลง จึงเป็นหัวใจหลักของธุรกิจนี้ อย่าลืมมองหา Partner ที่เชี่ยวชาญ และมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มานำเสนอให้กับองค์กรของคุณอย่าง OGA เพราะเราตั้งเป้าหมายที่จะเติบโตเคียงคู่ไปพร้อมกับพันธมิตรของเราทุกคนไปด้วยกัน

ความแตกต่าง Barcode, QR Code และ RFID

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น การใช้งานระบบระบุและติดตามข้อมูลต่าง ๆ ก็ยิ่งมีความสำคัญและแพร่หลายออกไป เทคโนโลยีที่นิยมใช้ในการระบุและติดตามข้อมูลที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ Barcode, QR Code, และ RFID ทั้งสามเทคโนโลยีนี้มีคุณสมบัติและวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างทั้งสามเทคโนโลยี 1. Barcode (บาร์โค้ด) บาร์โค้ดเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้มานานและแพร่หลายที่สุด โดยทั่วไปจะเป็นเส้นคู่ขนานสีดำและขาว ที่มีการเรียงรหัสข้อมูลตามรูปแบบเส้นเพื่อบ่งบอกข้อมูลต่าง ๆ เช่น หมายเลขสินค้า วันผลิต หรือราคาสินค้า ข้อมูลในบาร์โค้ดสามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนบาร์โค้ด ซึ่งมีการใช้งานในหลากหลายธุรกิจ เช่น ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า และคลังสินค้า   ข้อดี ● ราคาถูกและหาได้ง่าย ● ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพในงานที่ต้องการความเร็วในการอ่านข้อมูล ข้อเสีย ● มีความจุข้อมูลจำกัด ● ต้องใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดในการอ่านข้อมูล 2. QR Code (คิวอาร์โค้ด) QR Code เป็นการพัฒนามาจากบาร์โค้ดที่เพิ่มความสามารถในการเก็บข้อมูลที่มากขึ้นและซับซ้อนกว่า QR Code มีรูปแบบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีจุดและลวดลายต่าง ๆ ที่สามารถอ่านได้จากทุกทิศทาง ทำให้มีการใช้งานที่สะดวกและมีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลที่มากกว่าบาร์โค้ด   […]

บาร์โค้ด 1D กับ 2D แตกต่างกันอย่างไร

บาร์โค้ดเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุข้อมูลและติดตามผลิตภัณฑ์โดยการสแกน บาร์โค้ดแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก คือ บาร์โค้ดแบบ 1D (One-Dimensional) และบาร์โค้ดแบบ 2D (Two-Dimensional) บาร์โค้ดทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของรูปแบบและการใช้งาน . . ▶ บาร์โค้ดแบบ 1D (One-Dimensional Barcode) . . ลักษณะ บาร์โค้ดแบบ 1D เป็นบาร์โค้ดที่มีลักษณะเป็นแถบเส้นที่เรียงตัวกันในแนวเดียว (แนวนอน) เส้นเหล่านี้ประกอบไปด้วยเส้นสีดำและช่องว่างสีขาวที่มีความกว้างและขนาดแตกต่างกัน ข้อมูลที่เก็บอยู่ในบาร์โค้ดแบบ 1D จะอยู่ในรูปแบบของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งอ่านได้โดยการสแกนจากซ้ายไปขวา สามารถเก็บข้อมูลได้จำกัด ประมาณ 20–25 อักขระ การใช้งาน ● สินค้าทั่วไปในร้านค้า : ใช้ในการสแกนและระบุสินค้าที่แคชเชียร์ ● การจัดการคลังสินค้า : ใช้ในการติดตามสินค้าและการตรวจนับสินค้าในคลัง ● อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ : ใช้ในการติดตามพัสดุและการขนส่งสินค้า . . ▶ บาร์โค้ดแบบ 2D (Two-Dimensional Barcode) . . […]

8 ประโยชน์ของระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Warehouse System)

ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Warehouse System) เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการคลังสินค้าในยุคดิจิทัล ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดข้อผิดพลาด และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กรได้อย่างมาก การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในคลังสินค้าจึงมีประโยชน์หลากหลายประการ ดังนี้ . . ▶ ประโยชน์ของการใช้ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Warehouse System) . 1. เพิ่มความแม่นยำในการจัดการคลังสินค้า ระบบอัตโนมัติช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานของมนุษย์ เช่น การจัดเก็บสินค้าผิดตำแหน่ง การนับสต็อกผิดพลาด หรือการจัดส่งสินค้าผิด ทำให้การดำเนินงานมีความถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความพึงพอใจของลูกค้า 2. ลดเวลาการดำเนินงาน ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติช่วยลดเวลาที่ใช้ในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การรับสินค้า การจัดเก็บ และการจัดส่ง ด้วยการทำงานอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วของหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติ ทำให้สามารถประมวลผลคำสั่งซื้อได้เร็วขึ้น และทำให้การบริการลูกค้ามีความรวดเร็วมากขึ้นเช่นกัน 3. ลดต้นทุนในการดำเนินงาน การใช้ระบบอัตโนมัติช่วยลดความต้องการในการใช้แรงงานมนุษย์ในการดำเนินงานคลังสินค้า ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างและการฝึกอบรมพนักงาน นอกจากนี้ยังช่วยลดความต้องการในการใช้พื้นที่สำหรับจัดเก็บสินค้า ทำให้สามารถจัดการพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4. เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติช่วยลดความเสี่ยงในการทำงานที่เป็นอันตราย เช่น การยกของหนักหรือการทำงานในสภาวะที่ไม่ปลอดภัย ทำให้พนักงานมีความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น และลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน . 5. เพิ่มความสามารถในการวางแผนและติดตามสินค้า ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย […]

Login