Login

Register

Login

Register

Login

Register

ปัจจัยการเลือกซื้อ Software บริหารจัดการคลังสินค้า WMS (Warehouse Management System)

ปัจจัยการเลือกซื้อ Software บริหารจัดการคลังสินค้า WMS (Warehouse Management System)

               

WMS (Warehouse Management System)  หมายถึงระบบการบริหารจัดการสินค้าในคลังสินค้าเพื่อทำให้คลังสินค้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวดเร็ว แม่นยำ

ส่วนประกอบของการใช้ระบบ WMS

  • ขบวนการทำงานของคลังสินค้า
  • สถานที่จัดเก็บสินค้า (Location)
  • ผู้ใช้งานในคลัง
  • เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ร่วมกับ WMSเราจะต้องนำส่วนประกอบต่างๆ มาเพื่อประกอบในการตัดสินใจ เพื่อเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของระบบ WMS และขบวนการทำงานของคลังสินค้ามากที่สุด
  •            
  • ขบวนการ การทำงานของคลังสินค้า จะต้อง พิจารณา ในการทำงาน ดังนี้

    การควบคุมสินค้า (Item Control)

    การรับสินค้า (Inbound Order)

    การจ่ายสินค้า (Outbound Order)

    การหยิบสินค้า (Pick )

    การนับสินค้า(Count)

    การจัดเก็บสินค้า(Put a Way)

    การทำงานของพนักงานในคลังสินค้า

     

    การควบคุมสินค้า (Item Control)

    การควบคุมสินค้า หมายถึง  วิธีที่ใช้ในการ บริหารจัดการสินค้า  โดยใช้ลักษณะคุณสมบัติของสินค้าเอง  แบ่งเป็นตัวอย่างดังนี้

    • สินค้าที่ควบคุมเรื่องการ รับเข้าก่อนจ่ายก่อน จะเป็นการควบคุมที่ง่าย และ นิยมใช้ FIFO อ่านว่า ไฟโฟ( First In First Out)
    • สินค้าที่ มีเรื่องวันหมดอายุ จะควบคุมด้วย Lot ,Expire Date, MFG Date จะเรียกว่า FEFO ฟีโฟ (First Expire First Out) การควบคุมแบบนี้คือสินค้าที่จะหมดอายุก่อน จะต้องนำไปจ่ายก่อน

    สินค้าที่ต้องมีการควบคุม อายุสินค้า (Shelf Life) จะใช้ร่วมกับ FEFO แต่จะต้องมีการควบคุม ในการรับ หรือการจ่าย

    • สินค้าที่รับเข้าคลังจะมี อายุไม่น้อยกว่า 80 % ของอายุสินค้า
    • การจ่ายสินค้า ไปยังลูกค้า ถ้าลูกค้ากำหนด เรื่องอายุสินค้าที่จะจ่าย ไปยังลูกค้า เช่น ต้องการ อายุสินค้าไม่น้อยกว่า 70 % ในส่วน เราจะเรียกว่า Modern trade Control ส่วนใหญ่จะใช้กับพวกห้างสรรพสินค้า เช่น Big C, Lotus,7-11 เป็นต้น โดยอาจจะต้องมีการควบคุมเรื่อง Lot ด้วยว่าในการส่งสินค้าแต่ละครั้งต้องไม่เกินกี่ Lot
    • สินค้าที่ควบคุมอุณหภูมิ
    • สินค้าที่ควบคุม Serial No

    การรับสินค้า (Inbound Order)

    เป็นการรับสินค้า เข้าคลังสินค้า จะต้องมีขั้นตอน อะไรบ้าง

    • ใบรับสินค้า สร้างเองในระบบหรือ เชื่อมต่อกับระบบอื่น เพื่อให้ได้ใบรับมา
    • เงื่อนไขในการับสินค้า เช่น ตรวจสอบสินค้า ตรงตามที่สั่งสินค้า
    • รับ เกินจำนวนที่สั่งได้หรือไม่
    • รับแล้ว พิมพ์ สติกเกอร์ติดสินค้าหรือไม่
    • ใช้บาร์โค้ดที่ติดมากับสินค้ารับสินค้าได้หรือไม่
    • ทะยอยรับสินค้า หรือไม่
    • จำนวนใบรับ ต่อวัน และ จำนวน บรรทัดของ ใบรับ

    การจ่ายสินค้า (Outbound Order)

    เป็นการจ่ายสินค้าออกจากคลังสินค้า โดยมีเงื่อนไขต่างๆ ในการจ่าย

    จ่ายโดย FIFO

    จ่ายโดย FEFO

    จ่ายแบบ ระบุ Serial No

    จำนวนใบจ่าย ต่อวัน และ จำนวน บรรทัดของ ใบจ่าย

    จำนวน ผู้ใช้งานในส่วนการจ่ายสินค้า จ่ายแบบรวม ใบหยิบ มีหรือไม่

    การหยิบสินค้า (Pick )

    เป็นขั้นตอนในการที่ต้องการหยิบสินค้า

    ช่วยกันหยิบสินค้า ใน  1 ใบหยิบหรือไม่

    การหยิบ มีลำดับการหยิบ หรือไม่

    การนับสินค้า(Count)

    การนับสินค้า เป็นการตรวจนับสินค้า ที่มีอยู่ในคลังสินค้า โดยจะต้องตรวจนับได้อย่างน้อย  แบบ

    • ปิดคลังนับ (Physical Count) เป็นการนับทุกสถานที่เก็บของสินค้า เพื่อตรวจสอบข้อมูลของคลังสินค้า ว่าตรงกับข้อมูลของระบบหรือไม่
    • นับตามรอบ ( Cycle Count ) โดยแยกนับ ตาม สินค้า หรือตาม สถานที่เก็บ

    การจัดเก็บสินค้า(Put a Way)

    เป็นการจัดเก็บสินค้า ตามเงื่อนไข ต่างๆของการจัดเก็บ เช่น

    • จัดเก็บ ตาม กลุ่มสินค้า
    • จัดเก็บตาม Lot, Expire Date
    • จัดเก็บตามอุณหภูมิ
    • จัดเก็บตามการเคลื่อนไหว เช่น สินค้าที่มีการเคลื่อนไหวมากสุด
    • จัดเก็บตาม สถานที่ว่าง

    สถานที่จัดเก็บ (Location )

    แบ่งสถานที่จัดเก็บไว้เป็นกี่แบบ

    บนแร็ค (Rack Location)

    บนพื้น( Floor location)

    อื่นๆ Etc.,

    ผู้ใช้งานในระบบ

    สามารถแบ่งผู้ใช้งาน เบื้องต้นดังนี้

    ทีมรับ  (Inbound)

    ทีมจัดเก็บPut a way

    ทีม (Picking)

    ทีมนับสินค้า (Count) เพื่อที่ประเมินผู้ใช้งานในระบบ ว่ามีปริมาณเท่าใด

    เครื่องมือต่างๆที่ใช้

    เป็นอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการทำงานของคลังสินค้า คือ Solution Barcode เช่น  Mobile Computer หรือ Handheld ,เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

  • ติดต่อ OGA International ได้ที่facebook : https://m.me/ogagroupLINE : https://lin.ee/g01sRts

    โทรศัพท์ : 020258888

    เลือกดูสินค้าอื่น ๆ ของเราได้ที่ https://www.oga.co.th/product/

OGA ออกบูธในงาน Logimat Southeast Asia

LogiMAT Southeast Asia 2024 . งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีชั้นนำด้านอินทราโลจิสติกส์ คลังสินค้าอัจฉริยะ และกระบวนการจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน ร่วมกับ LogiFOOD Southeast Asia งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์อาหารครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก . . ทาง OGA ยกขบวนสินค้าแบรนด์ดังไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด แสกนเนอร์ Mobile Computer ของทาง Honeywell มาพร้อมซอร์ฟแวร์สร้างบาร์โค้ด จากทาง Bartender อีกทั้งยังมีสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดทุกชนิด ทุกเนื้อกระดาษ และริบบอนแบรนด์ inkanto บอกเลยว่างานนี้จัดเต็ม ตอบโจทย์ในหลายธุรกิจ .       .     .     . ทาง OGA ขอขอบพระคุณลูกค้าทุกท่านที่มาเยี่ยมชมบูธของทางเรา และให้การตอบรับที่ดี เราพร้อมเป็นที่ปรึกษาและให้ข้อมูลด้านโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ในธุรกิจของลูกค้าทุกท่าน .         . . —– […]

ความแตกต่าง Barcode, QR Code และ RFID

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น การใช้งานระบบระบุและติดตามข้อมูลต่าง ๆ ก็ยิ่งมีความสำคัญและแพร่หลายออกไป เทคโนโลยีที่นิยมใช้ในการระบุและติดตามข้อมูลที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ Barcode, QR Code, และ RFID ทั้งสามเทคโนโลยีนี้มีคุณสมบัติและวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างทั้งสามเทคโนโลยี 1. Barcode (บาร์โค้ด) บาร์โค้ดเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้มานานและแพร่หลายที่สุด โดยทั่วไปจะเป็นเส้นคู่ขนานสีดำและขาว ที่มีการเรียงรหัสข้อมูลตามรูปแบบเส้นเพื่อบ่งบอกข้อมูลต่าง ๆ เช่น หมายเลขสินค้า วันผลิต หรือราคาสินค้า ข้อมูลในบาร์โค้ดสามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนบาร์โค้ด ซึ่งมีการใช้งานในหลากหลายธุรกิจ เช่น ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า และคลังสินค้า   ข้อดี ● ราคาถูกและหาได้ง่าย ● ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพในงานที่ต้องการความเร็วในการอ่านข้อมูล ข้อเสีย ● มีความจุข้อมูลจำกัด ● ต้องใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดในการอ่านข้อมูล 2. QR Code (คิวอาร์โค้ด) QR Code เป็นการพัฒนามาจากบาร์โค้ดที่เพิ่มความสามารถในการเก็บข้อมูลที่มากขึ้นและซับซ้อนกว่า QR Code มีรูปแบบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีจุดและลวดลายต่าง ๆ ที่สามารถอ่านได้จากทุกทิศทาง ทำให้มีการใช้งานที่สะดวกและมีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลที่มากกว่าบาร์โค้ด   […]

บาร์โค้ด 1D กับ 2D แตกต่างกันอย่างไร

บาร์โค้ดเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุข้อมูลและติดตามผลิตภัณฑ์โดยการสแกน บาร์โค้ดแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก คือ บาร์โค้ดแบบ 1D (One-Dimensional) และบาร์โค้ดแบบ 2D (Two-Dimensional) บาร์โค้ดทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของรูปแบบและการใช้งาน . . ▶ บาร์โค้ดแบบ 1D (One-Dimensional Barcode) . . ลักษณะ บาร์โค้ดแบบ 1D เป็นบาร์โค้ดที่มีลักษณะเป็นแถบเส้นที่เรียงตัวกันในแนวเดียว (แนวนอน) เส้นเหล่านี้ประกอบไปด้วยเส้นสีดำและช่องว่างสีขาวที่มีความกว้างและขนาดแตกต่างกัน ข้อมูลที่เก็บอยู่ในบาร์โค้ดแบบ 1D จะอยู่ในรูปแบบของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งอ่านได้โดยการสแกนจากซ้ายไปขวา สามารถเก็บข้อมูลได้จำกัด ประมาณ 20–25 อักขระ การใช้งาน ● สินค้าทั่วไปในร้านค้า : ใช้ในการสแกนและระบุสินค้าที่แคชเชียร์ ● การจัดการคลังสินค้า : ใช้ในการติดตามสินค้าและการตรวจนับสินค้าในคลัง ● อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ : ใช้ในการติดตามพัสดุและการขนส่งสินค้า . . ▶ บาร์โค้ดแบบ 2D (Two-Dimensional Barcode) . . […]

Login